ยินดีต้อนรับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ปรัชญา " สร้างนักเทคโนโลยีการเกษตรที่พัฒนาประเทศได้ยั่งยืน " วิสัยทัศน์ "มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางด้านการเกษตร เป็นแหล่งบริการวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม รักษ์สิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ" เอกลักษณ์ " เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีทักษะปฏิบัติ " อัตลักษณ์(นักศึกษา) "บัณฑิตนักปฏิบัติ "

หัวหน้าสาขา

 

แบบสำรวจ/สอบถาม

You are here

Home » หลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพืชศาสตร์

การสมัครเข้าศึกษาต่อ
*** ผู้สนใจสมัครศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี สามารถเลือกสมัครผ่านเว็บไซต์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตามพื้นที่ต้องการ ดังนี้  ***

             


 
1. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (พืชศาสตร์)
                          Bachelor of Science (Plant Science) 

ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (พืชศาสตร์)
                         B.Sc. (Plant Science)

2. รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 

 

3. ปรัชญา

ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรอบรู้ทางด้านทฤษฎีและทักษะทางด้านวิทยาการพืชศาสตร์ที่ทันสมัย มีคุณธรรมและจริยธรรม

 

4. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

4.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทย์-คณิต ศิลป์-คณิต หรือเทียบเท่า

4.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า สาขาวิชาพืชศาสตร์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยวิธีเทียบโอนผลการเรียน

4.3  ทั้งข้อ 4.1 และข้อ 4.2 ต้องมีคุณสมบัติอื่นตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 โดยมีวิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา ดังนี้

- โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านกลุ่ม 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
- โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

 

5. วัตถุประสงค์ 

5.1 ผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมจริยธรรม มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วิชาชีพ และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ

5.2 ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน และศึกษาต่อในระดับสูงได้

5.3 ผลิตบัณฑิตให้มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติ และให้คิดเป็น ทำเป็น สามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

5.4 ผลิตบัณฑิตให้มีมนุษยสัมพันธ์ มีความรับผิดชอบในการทำงานทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวในการทำงานทั้งในภาวะผู้นำและผู้ตามได้อย่างเหมาะสม

5.5 ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์

 

6. อาชีพที่ประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

งานเอกชน เป็นนักวิชาการ นักวิจัย หรือพนักงานประจำบริษัท ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเกษตร สารเคมี การส่งออกพืชผลเกษตร บริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์พืช การผลิตและจำหน่ายปุ๋ย และอาหารสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น

ประกอบอาชีพส่วนตัว ทำธุรกิจจัดจำหน่ายพันธุ์พืช เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุและสารเคมีทางการเกษตร การดำเนินการเพื่อการผลิตทางการเกษตร  การจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร การดำเนินธุรกิจบริษัทจำหน่ายสารเคมีเพื่อการเกษตร  หรือจัดตั้งบริษัทเพื่อให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำรวมทั้งให้บริการในการกำจัด  แมลงศัตรูพืช  และแมลงศัตรูในอาคารบ้านเรือน  การผลิตปุ๋ยชีวภาพ  การดำเนินธุรกิจการส่งออกทางด้านเกษตร  รับตกแต่งดูแลสวน  วางระบบการให้น้ำ เป็นต้น

งานในหน่วยงานของรัฐ ในกระทรวงศึกษาธิการเป็นบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เป็นนักวิชาการเกษตรหรือนักวิจัย เจ้าหน้าที่ส่งเสริม ในหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักควบคุมพืชและวัสดุทางเกษตร รัฐวิสาหกิจ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น